Lazy Portfolios
พอร์ตการลงทุนแบบ Lazy Portfolio คือกลุ่มการลงทุนแบบซื้อไว้เแล้วปล่อยวาง ซึ่งต้องเข้ามาดูแลหรือปรับพอร์ตเพียงเล็กน้อยหรือไม่จำเป็นเลย พอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองทุนจำนวนไม่มากที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ซึ่งง่ายต่อการใช้งานจริงและปรับสมดุล (rebalance) ง่ายอีกด้วย
Lazy Portfolio ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีผลการดำเนินงานที่ดีในสภาวะตลาดส่วนใหญ่ ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักลงทุนระยะยาว
rebalance 🎯
การปรับสมดุล (Rebalancing) เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนระยะยาว มันเป็นกระบวนการในการปรับพอร์ตการลงทุนของคุณให้กลับสู่สัดส่วนเป้าหมายเดิม
สมมติว่าคุณสร้างพอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้น 60% และพันธบัตร 40% หลังจากผ่านไประยะหนึ่ง สัดส่วนนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากผลการดำเนินงานของสินทรัพย์แต่ละประเภทแตกต่างกัน สมมติว่าหุ้นทำผลงานได้ดีมาก ส่วนแบ่งของหุ้นในพอร์ตอาจเพิ่มขึ้นเป็น 70% ในขณะที่พันธบัตรลดลงเหลือ 30%
การปรับสมดุลคือการขายหุ้นส่วนที่มีสัดส่วนเกิน และนำเงินไปซื้อพันธบัตรเพิ่ม เพื่อให้พอร์ตกลับมาอยู่ในสัดส่วน 60/40 ตามที่ตั้งใจไว้เดิม
ประโยชน์หลักของการปรับสมดุลคือ:
มันช่วยให้คุณคงระดับความเสี่ยงที่ต้องการ โดยไม่ปล่อยให้พอร์ตเอนเอียงไปทางสินทรัพย์ที่ผันผวนมากเกินไป
มันบังคับให้คุณขายสินทรัพย์ที่มีราคาสูง และซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการลงทุนพื้นฐานที่ว่า “ซื้อต่ำ ขายแพง”
ตัวอย่าง Lazy Portfolio: พอร์ตโฟลิโอแบบสองกองทุน 🎯
คุณสามารถลงทุนในตลาดสหรัฐฯ และตลาดต่างประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดตราสารหนี้ โดยใช้เพียงสองกองทุน
Rick Ferri เคยเสนอพอร์ตโฟลิโอแบบสองกองทุนที่ประกอบด้วยดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก และกองทุนดัชนีตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่มีการกระจายการลงทุน ดังนี้ (อัตราค่าธรรมเนียม ETF อยู่ในวงเล็บ):
Rick Ferri’s Two-Fund Portfolio
% ในพอร์ต | ประเภทสินทรัพย์ | ETF | Vanguard | SPDR |
---|---|---|---|---|
60% | หุ้นทั่วโลก | VT (.08%) | SPGM (.09%) | |
40% | ตราสารหนี้รัฐบาล | BND (.035%) | SPAB (.03%) |
Three-fund lazy portfolios 🎯
Taylor Larimore’s Three-Fund Portfolio
% ในพอร์ต | ประเภทสินทรัพย์ | ETF | Vanguard | iShares |
---|---|---|---|---|
– | หุ้นสหรัฐฯ | VTI (.03%) | ITOT (.03%) | |
– | หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | VXUS (.08%) | IXUS (.09%) | |
– | ตราสารหนี้สหรัฐฯ | BND (.035%) | AGG (.04%) |
Scott Burns’ Margarita Portfolio / Andrew Tobias’ Three-Fund Portfolio
% ในพอร์ต | ประเภทสินทรัพย์ | ETF | Vanguard | iShares |
---|---|---|---|---|
34% | หุ้นสหรัฐฯ | VTI (.03%) | ITOT (.03%) | |
33% | หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | VXUS (.08%) | IXUS (.09%) | |
33% | หลักทรัพย์ที่มีการป้องกันเงินเฟ้อ (Inflation-Protected Securities) | - | TIP (.19%) |
Rick Ferri’s Lazy Three-Fund Portfolio
% ในพอร์ต | ประเภทสินทรัพย์ | ETF | Vanguard | iShares |
---|---|---|---|---|
40% | หุ้นสหรัฐฯ | VTI (.03%) | ITOT (.03%) | |
20% | หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | VXUS (.08%) | IXUS (.09%) | |
40% | ตราสารหนี้สหรัฐฯ | BND (.035%) | AGG (.04%) |
ตัวอย่าง Lazy Portfolio อื่นๆ 🎯
Core Four Portfolio, Asset Allocations
สัดส่วนพอร์ตที่ต้องการ | ETF/กองทุน หุ้นสหรัฐฯ | ETF/กองทุน หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | ETF/กองทุน ตราสารหนี้สหรัฐฯ | ETF/กองทุน REIT |
---|---|---|---|---|
60 / 40 | 30% | 24% | 40% | 6% |
80 / 20 | 40% | 32% | 20% | 8% |
Bill Schultheis’s “Coffeehouse” Portfolio
Bill Schultheis ได้สร้างพอร์ตโฟลิโอง่ายๆ ประกอบด้วย 7 กองทุน ซึ่งเป็นที่นิยมและกล่าวถึงในหนังสือของเขา “The Coffeehouse Investor” เล่มนี้สนับสนุนให้มีสัดส่วนการจัดสรร 40% ของเงินลงทุนไปยังกองทุนรวมตราสารหนี้ (total market bond fund) และ 10% ต่อกองทุนในกลุ่มหุ้นประเภทต่างๆ
Coffeehouse Portfolio นี้การลงทุนในตลาดสหรัฐฯ เพียง 10% (ซึ่งคิดเป็น 17% ของเงินลงทุนทั้งหมด) ส่วนที่เหลือจะเน้นการลงทุนในหุ้นในสหรัฐฯ โดยกระจายการลงทุนไปยังหลายๆ กองทุน และใช้เพียงหนึ่งกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ
ประเภทสินทรัพย์ | สัดส่วน | Vanguard ETF | iShares ETF |
---|---|---|---|
Large Blend U.S. | 10% | VOO (.03%) | IVV (.03%) |
Large Value U.S. | 10% | VTV (.04%) | IUSV (.04%) |
Small Blend U.S. | 10% | VB (.05%) | ISCB (.04%) |
Small Value U.S. | 10% | VBR (.07%) | ISCV (.06%) |
หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | 10% | VXUS (.08%) | IXUS (.09%) |
REIT | 10% | VNQ (.12%) | USRT (.08%) |
ตราสารหนี้ | 40% | BND (.035%) | AGG (.04%) |
*Large Blend, Small Value คืออะไร? อธิบายประเภทของกองทุนรวม (Mutual Funds) แบบเข้าใจง่าย
William Bernstein’s “Coward’s” portfolio
William Bernstein เป็นผู้เขียนหนังสือหลายเล่มรวมถึง “The Intelligent Asset Allocator” และ “The Four Pillars of Investing” เขาได้แนะนำพอร์ตโฟลิโอ “Coward’s” ในปี 1996
คำว่า “Coward” (ขี้ขลาด) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสามารถในการรับความเสี่ยง แต่หมายถึงกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง (hedging) และการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท พอร์ตโฟลิโอนี้มีความคล้ายคลึงกับ Coffeehouse Portfolio ยกเว้นว่าจะใช้ตราสารหนี้ระยะสั้น (short-term bonds) และแบ่งการลงทุนในตลาดต่างประเทศออกเป็นส่วนเท่าๆ กันระหว่างยุโรป แปซิฟิก และตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets)
ประเภทสินทรัพย์ | สัดส่วน | Vanguard ETF | iShares ETF |
---|---|---|---|
หุ้นทั่วโลก | 15% | VTI (.03%) | ITOT (.03%) |
Large Value U.S. | 10% | VTV (.04%) | IUSV (.04%) |
Small Blend U.S. | 5% | VB (.05%) | ISCB (.04%) |
Small Value U.S. | 10% | VBR (.07%) | ICSV (.06%) |
ยุโรป | 5% | VGK (.08%) | IEUR (.09%) |
เอเชียแปซิฟิก | 5% | VPL (.08%) | IPAC (.09%) |
ตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) | 5% | VWO (.10%) | IEMG (.11%) |
REIT | 5% | VNQ (.12%) | USRT (.08%) |
ตราสารหนี้ระยะสั้น (short-term bonds) | 40% | BSV (.05%) | ISTB (.06%) |
Frank Armstrong’s “Ideal Index” portfolio
Frank Armstrong ผู้เขียนหนังสือ The Informed Investor ได้เสนอแนวทางการจัดพอร์ตโฟลิโอชนิดนี้ในบทความหนึ่งของ MSN Money พอร์ตโฟลิโอของเขามีการจัดสรรเงินไปสู่ตราสารหนี้ (bonds) ในสัดส่วนที่น้อยกว่า แต่กลับจัดสรรส่วนที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดให้กับตลาดหุ้นต่างประเทศ (จริงๆแล้ว ส่วน ‘หุ้น’ ไม่รวม REIT จะแบ่งออกเป็น 50/50 ระหว่างตลาดหุ้นในประเทศและต่างประเทศ) เขาสนับสนุนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น (short-term bonds)
ประเภทสินทรัพย์ | สัดส่วน | Vanguard ETF | iShares ETF |
---|---|---|---|
Large Blend | 7% | VOO (.03%) | IVV (.03%) |
Large Value | 9% | VTV (.04%) | IUSV (.04%) |
Small Blend | 6% | VB (.05%) | ISCB (.04%) |
Small Value | 9% | VBR (.07%) | ICSV (.06%) |
หุ้นทั่วโลก (ยกเว้น สหรัฐฯ) | 31% | VXUS (.08%) | IXUS (.09%) |
REIT | 8% | VNQ (.12%) | USRT (.08%) |
ตราสารหนี้ระยะสั้น (short-term bonds) | 30% | BSV (.05%) | ISTB (.06%) |
David Swensen’s lazy portfolio
David Swensen คือหัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) ของมหาวิทยาลัย Yale และเป็นผู้เขียนหนังสือ Unconventional Success
lazy portfolio ของเขาเน้นการใช้กองทุนรวมดัชนีต้นทุนต่ำที่มีประสิทธิภาพด้านภาษี (total market funds) (ส่วนนี้อาจไม่เกี่ยวกับนักลงทุนบ้านเรา) เพิ่มส่วนของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และรวมเอาตราสารหนี้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (inflation-protected securities หรือ TIPS) เข้าไว้ด้วย
ประเภทสินทรัพย์ | สัดส่วน | Vanguard ETF | iShares ETF | SPDR ETF |
---|---|---|---|---|
หุ้นทั่วโลก | 30% | VTI (.03%) | ITOT (.03%) | SPTM (.03%) |
หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว | 15% | VEA (.05%) | IDEV (.05%) | SPDW (.04%) |
ตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) | 10% | VWO (.10%) | IEMG (.11%) | SPEM (.11%) |
อสังหา | 15% | VNQ (.12%) | USRT (.08%) | XLRE (.12%) |
ตราสารหนี้สหรัฐฯ | 15% | VGIT (.05%) | GOVT (.05%) | SPTI (.06%) |
TIPS | 15% | - ---[note 4] | TIP (.19%) | SPIP (.12%) |
U.S. Permanent Portfolio
Harry Browne นักวิเคราะห์การลงทุนตลาดเสรี ได้คิดค้น Permanent Portfolio ในช่วงทศวรรษ 1980 ให้เป็นพอร์ตโฟลิโอแบบซื้อแล้วถือทิ้งไว้ (buy-and-hold) ซึ่งเน้นการจัดสรรปันส่วนไปยังทองคำ โดยพอร์ตนี้จะถือครองสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในสัดส่วนเท่าๆ กันได้แก่ หุ้นสหรัฐฯ ทองคำ ตราสารหนี้รัฐบาลระยะสั้น และตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาว
สัดส่วน | ประเภทสินทรัพย์ | Vanguard ETF | iShares ETF |
---|---|---|---|
25% | หุ้นสหรัฐฯ | VTI (.03%) | ITOT (.03%) |
25% | ทองคำ | - | IAU (.25%) |
25% | ตราสารหนี้สหรัฐฯ | VGSH (.05%) | SHY (.15%) |
25% | ตราสารหนี้ระยะยาว - US Long-Term Treasury | VGLT (.05%) | TLT (.15%) |